เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ๑๐ สุดท้ายของพระเจ้าสิบชาติ ในสมัยก่อนมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง พระนามว่าสีพีราชเสวยราชสมบัติในกรุงสีพีราชบุรี มีพระโอรสพระองค์หนึ่งนามว่า สญชัย และให้ครองราชสมบัติเมื่อมีอายุสมควรแล้วได้อภิเษกกับพระนางผุสดีราชธิดากษัตริย์มัททราช เรื่องของพระนางผุสดีนั้นก็เรื่องออกจะยืดยาว โดยกล่าวว่าเมื่อพระวิปัสสีพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระเจ้าพันธุมราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพันธุมดีนคร มีเมืองขึ้นส่งดอกไม้ทอง และแก่นจันทร์มาถวายเป็นเครื่องบรรณการ พระองค์ก็ทรงพระราชทานดอกไม้ทองให้แก่ราชธิดาผู้น้อง ส่วนแก่นจันทร์แดงให้แก่ราชธิดาผู้พี่ ราชธิดาทั้งสองนั้นเลื่อมใสในพุทธศาสนา ผู้น้องก็เอาดอกไม้ทองให้ช่างทำเป็นเครื่องประดับอก ซึ่งสมัยนี้ก็อาจจะทำเป็นจี้ห้อยคอก็เป็นได้ แล้วนำไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมกับตั้งปรารถนาไว้ “เกิดชาติหน้าฉันใด เมื่อข้าเกิดในชาติใดขอให้ดอกไม้ทองนี้จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าทุกชาติ” ส่วนราชธิดาผู้พี่นั้น ให้เขาบดจันทร์แดงเป็นผง แล้วนำไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมกับตั้งความปรารถนาว่า “หากข้าพเจ้าเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ได้เป็นมารดาของพระพุทธเจ้าเถิด” ทั้งสองได้จุติจากชาตินั้น ผู้น้องได้ไปเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ากิงกิสราช มีเครื่องประดับอกเกิดพร้อมกับปฎิสนธิ เมื่อเจริญวัยได้ฟังเทศน์ของพระกัสสปพุทธเจ้าก็สำเร็จอรหันต์นิพพานในสมัยกาลนั้น ส่วนนางราชธิดาผู้พี่ ก็ได้มาเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ากิงกิสราชเหมือนกัน แต่ต่างมารดา จุติจากชาตินั้นแล้วก็ไปบังเกิดในดาวส์ดึงสวรรค์ เป็นมเหสีของท้าวอมรินทราธิราช ทรงพระนามว่า ผุสดี อยู่มาจนกระทั่ง วันหนึ่งท้าวอมรินทราราชได้เห็นว่าพระนางจะจุติลงไปแล้ว จึงพานางลงไปยังสวนนันทวัน เพื่อให้รื่นเริงไม่ระลึกถึงอะไร พอได้โอกาสก็ตรัสว่า “เจ้าจงไปเกิดในเมืองมนุษย์โลกแล้ว เราจะให้พรเจ้า ๑๐ ประการ” “ทำไมกระหม่อมฉันจะต้องลงไปเกิดในมนุษย์โลก” “เพราะว่าเจ้าสิ้นบุญของน้องที่จะอยู่ที่นี่แล้ว จงรับเอาพร ๑๐ ประการเถิด” เมื่อนางได้สดับก็คิดสลดใจ และได้ขอพรแก่ท้าวสหัสนัยดังนี้ ๑. ขอให้ไปเกิดในปราสาทเมืองมัทราช ๒. ขอให้ตาข้าพเจ้าดำขลับดุจเนื้อทราย ๓. ขอให้ขนคิ้วข้าพเจ้าเขียวขำ เปรียบดุจสร้อยคอนกยูง๔ .ขอให้ได้นามว่า ผุสดีเหมือนเดิม ๕. ขอให้มีโอรสที่ยิ่งใหญ่กว่าเจ้าพระยาทั้งหลายในสากลชมภูทวีป ๖. เมื่อทรงครรถ์อย่าให้ครรภ์ข้านูนเหมือนหญิงสามัญให้คงปกติราบเรียบเหมือนก่อน ๗. ถันของข้าพระองค์ยามเมื่อมีโอรสอย่าได้หย่อนยานและดำผิดไปจากเดิม ๘ ขอให้เกศาข้าพเจ้าดำขลับไม่รู้จักหงอก ๙. ขอให้ผิวกายข้าพระเจ้าบริสุทธิ์สอาด ธุลีหรือผงละอองไม่สามารถจะติดผิวกายอันละเอียดอ่อนนุ้มได้ ๑๐. ขอให้ข้าได้ช่วยชีวิตผู้ที่ต้องราชอาญาได้ รวมเป็นพร ๑๐ ประการ ที่พระนางทูลขอท้าวอมรินทร์ซึ่งท้าวเธอก็ปราสาทให้ดังประสงค์ พระนางก็จุติลงมาเกิดในปราสาทกษัตริย์มัททราช เมื่อประสูติออกมาแล้วพรทั้งปวงก็ปรากฎแก่นางเช่นกัน แต่ยังมีบางข้อซึ่งพระนางยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจะมีพระสวามีได้ ครั้นพระชนม์ได้ ๑๖ ปี ก็เป็นมเหสีของพระเจ้าสญชัยกรุงสีพีราช สมเด็จท้าวอมรินทร์รู้ว่าพระนางผุสดีอภิเษกแล้ว ก็คิดว่าพรทั้ง ๑๐ ยังไม่สมบรูณ์แก่พระนาง จำจะต้องสงเคราะห์ เพื่อให้ได้พรครบบริบูรณ์ จำจะต้องอารักษ์ทั้งหลายพากันไปทูลเชิญอาราธนาพระโพธิสุตว์จากดุสิตลงสู่พระครรภ์ของพระนาง เมื่อพระนางทรงครรภ์ถ้วนทศมาสใกล้คลอด เกิดอยากจะเสด็จประพาสพระนคร จึงได้ทูลลาพระภัสดา ซึ่งท้าวสญชัยก็ตามพระทัยให้ เสด็จพระพาสโดยขบวน ตราบจนพระทั่งถึงตรอกพ่อค้า ก็เกิดปวดพระอุทรจะประสูติ พนักงานก็จัดที่ถวายพระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ ที่นั้น พระโอรสก็เลยได้พระนามว่า เวสสันดร ซึ่งแปลว่าระหว่างพ่อค้า ในระหว่างที่ประสูติแล้ว พอพระกุมารลืมพระเนตรก็ถามพระมารดาถึงทรัพย์ที่จะทำทาน อันผิดแปลกจากประชาชนสามัญ ซึ่งกว่าจะพูดได้ก็ตั้ง ๓ เดือน ๖ เดือน หรือหนึ่งปีขึ้นไป พระราชมารดาก็พระราชทานทรัพย์ออกให้ทาน กล่าวถึงนางพญาช้างฉัททันต์ อันท่องเที่ยวไปในอากาศได้ นำลูกช้างเผือกบริสุทธิ์มาไว้ในโรงช้างต้น และต่อไปช้างนั้นก็ได้นามว่า ปัจจัยนาเคนทร์ ช้างเกิดสำหรับบุญของพระเวสสันดร พระชนม์ได้ ๔ – ๕ พรรษา ก็ได้เปลื้องเครื่องประดับ พระราชทานแก่พี่เลี้ยงนางนมหมดด้วยกันถึง ๗ ครั้ง เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ ก็ได้เสวยราชสมบัติ และสู่ขอพระมัสทรีตระกูลมาตุลราชวงศ์ มาอภิเษกให้เป็นมเหสีของท้าวเธอ พระองค์ยินดีในการให้ทาน ได้ตั้งโรงทานถึง ๖ แห่งในพระนคร คือที่ประตูเมืองทั้ง ๔ และกลางเมือง และอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ประตูพระราชวัง พระองค์เสด็จออกทอดพระเนตรการให้ทานอยู่เป็นเนืองนิจ ตราบจนกระทั่งพระนางมัทรีประสูติโอรส บรรดาพระญาติได้รับข่ายทอง และถวายพระนามว่าชาลี และต่อมาก็ได้ประสูติพระราชธิดา บรรดาพระญาติก็รับด้วยหนังหมี จึงได้นามสมญาว่ากัญหา ในวาระนั้นเมืองกาลิงครัฐเกิดข้าวหมากแพง เพราะฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนก็พากันไปชุมนุมหน้าพระลานร้องทุกข์แก่พระเจ้ากาลิงคราช พระเจ้ากาลิงคราชพิจารณาดูพระองค์ว่าผิดศีลทศพิธราชธรรมประการใดก็ไม่เห็น จึงรักษาอุโบสถศีลสิ้นเวลาถึง ๗ วัน ฝนก็ไม่ตก ความความเดือดร้อนก็เพื่มพูนแก่ประชาชนพลเมืองยิ่งขึ้น เสียงร่ำร้องให้ช่วยก็แซ็งแซ่ไปทั้งพระนคร พระเจ้ากาลิงคราชหมดปัญญาที่จะทำให้ฝนตกได้ เพราะแม้ราฎรประชาชนพลเมืองจะพากันแห่นางแมว และเซ่นสรวงเทพาอารักษ์ขอให้ฝนตก ฝนก็ไม่ตกไปได้ ความร้อนก็แผ่ขยายไปทั่วประเทศ ต้นไม้ใบหญ้าแทบจะกรอบเกรียมไปด้วยความร้อน พระองค์จึงทรงปรึกษากับบรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตว่าจะทำอย่างไรดี จึงจะให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้ เพราะทำอะไรมากมายหลายอย่างแล้งฝนก็ไม่ตก อำมาตย์คนหนึ่งคิดขึ้นมาได้จึงกราบทูลขึ้นว่า “ขอเดชะ เมืองสีพีเป็นเมืองสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาธัญญาหารทั้งปวง เพราะพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีเสด็จขึ้นคอคชสารปัจจัยนาเคนทร์ เสด็จไปทั่วพระนคร ช้างตัวนี้วิเศษจริง ๆ พระเจ้าค่ะ ไปที่ไหนฝนฟ้าก็ตกที่นั้น” “ถ้าอย่างนั้นก็ดีน่ะสิ ทำอย่างไรจึงจะขอยืมมาใช้ได้ล่ะ” อำมาตย์อีกผู้หนึ่งจึงทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าเป็นพระเวสสันดรเห็นจะไม่ยากนัก เพราะองค์ทรงยินดีในการให้บริจาคทาน หากส่งพราหมณาจารย์ฉลาดในเชิงพูดไปทูลขอก็เห็นจะสำเร็จดังประสงค์” “ถ้าอย่างนั้นก็ดี ประชาชนพลเมืองทั้งหลายจะได้หายเดือดร้อน เราเองก็จะสบายใจ เพราะพลเมืองของเราก็จะร่มเย็นสุข ท่านปุโรหิตผู้ใหญ่จงจัดพราหมณ์ไปพร้อมกันรวม ๘ คนด้วยกัน ไปทูลขอมาให้ได้” “เมื่อรับคำสั่งมหาพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตก็คัดเลือกผู้ที่จะไปได้พร้อมแล้วก็ออกเดินทางไปยังกรุงสีพี เพื่อจะทูลขอช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ ถึงกรุงสีพีเป็นเวลาที่พระเวสสันดรออกมาให้ทานก็ได้ติดตามไป จนได้โอกาสเหมาะก็ได้ทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์ซึ่งพระองค์ก็บริจาคให้โดยดี พราหมณ์ทั้ง ๘ ก็ขับขี่ช้างเพื่อนำกลับไปยังกาลิงครัฐ ผ่านประชาชนพลเมืองเป็นพราหมณ์ขี่ช้างเผือกยอดพาหนะของพระเวสสันดรก็ตระโกนด่าว่าด้วยถ่อยคำที่หยาบคายว่า ไม่รู้จักสำนึกกระลาหัวไปขึ้นขี่พาหนะทรงของในหลวง และยังแถมว่าเป็นผู้ร้ายลักช้างเสียด้วย หากพราหมณ์เหล่านั้นก็กล่าวเยอะเย้ยว่าพวกชาวเมืองไม่รู้อะไร ช้างนี้พระเวสสันดรพระราชทานให้ต่างหาก มิฉะนั้นแล้วพวกตนจะไปเอามาได้อย่างไร แล้วก็ขับช้างบ่ายหน้าไปกาลิงครัฐ เมื่อช้างไปถึงแล้วฟ้าฝนก็ได้ตกลงมาห่าใหญ่ เป็นอันว่าความแห้งแล้งอดอยากทั้งหลายก็หายไป เมืองกาลิงครัฐความร้อนก็ค่อยบรรเทาเบาบางลง ความชุ่มชื่นก็ปรากฎขึ้น หญ้าก็เริ่มแตกระบัด ต้นไม้ผลิดอกออกช่อแตกใบเขียวชอุ่ม มองไปทางไหนก็มีแต่สีเขียวพรืดไปหมดทั้งประเทศ เพราะอภินิหารของปัจจัยนาเคนทร์ ช้างคู่บุญของพระเวสสันดร ชาวบ้านชาวเมืองสีพีเห็นพราหมณ์ขับขี่ช้างมงคลประจำเมืองออกไปเสียเช่นนั้นก็พากันโกรธเคือง พากันเดินขบวน ว่าที่จริงครั้งก่อนก็แก่เดินขบวนเหมือนกัน แต่ไม่มีป้ายประณามหรือคำขวัญต่าง ๆ หรือประท้วงอดอาหารอย่างสมัยนี้ พากันเดินไปชุมนุมกันที่หน้าพระลานเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสัญชัยออกมาพบ “พวกเราจะพินาศ พวกเราจะพากันเดือดร้อน เพราะเจ้าเวสสันดรให้ช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองไปเสียแล้ว อีกหน่อยก็คงจะยกบ้านยกเมืองให้คนอื่นเสียอีก ใครเขาจะขจัดความเดือดร้อนได้ พระเจ้าสัญชัยจะจัดการอย่างไร ถ้ามิฉะนั้นประชาชนก็จะจัดกันการเสียเอง” เสียงประชาชนโห่ร้องกึกก้อง เรียกร้องจะลงโทษเจ้าเวสสันดร พระเจ้ากรุงสัญชัยเห็นจะไม่ได้การ จึงเสด็จออกไปยังพระลานพร้อมกับตรัสว่า “ประชาชนทั้งหลาย ฉันขอบใจพวกเธอที่มีอะไรก็รีบมาบอกกล่าวกัน เรื่องทั้งหลายฉันจะจัดการให้” ตรัสยังมิทันขาดคำ พวกประชาชนพากันโห่ร้องกับมีเสียงตะโกนออกมา “มิใช่จะจัดการ ต้องจัดการเดี๋ยวนี้” “จะให้เราจับเจ้าเวสสันดรมาประหารหรืออย่างไร” เสียงเงียบไปชั่วขณะ แล้วมีเสียงตอบกลับออกมาว่า” “มิใช่ประหาร เราต้องการให้ขับไล่ออกเสียจากนอกเมือง เพราะขืนให้อยู่ต่อไปพวกเราจะเดือดร้อน เดี๋ยวใคร ๆ รู้ก็จะพากันมาขอ แล้วถ้าเกิดมีคนมาขอบ้านเมืองขอแผ่นดินเจ้าเวสสันดรก็คงจะยกให้เขาไป แล้วพวกเราจะอยู่อย่างไร” “เอาล่ะ เมื่อพวกเจ้าต้องการเช่นนั้น เราก็จะจัดการเนรเทศให้” แล้วประชาชนก็พากันกลับไปยังบ้านเรือนของตน เป็นยังไงบ้าง ประชามิติร้ายแรงแค่ไหน ถ้าเป็นสมัยนี้บางทีคนพูดนั้นเหละ อาจจะถูกเนรเทศแทนเจ้าเวสสันดรก็อาจเป็นได้ใครจะรู้ ดีไม่ดีอาจจะโดนอุ้มเงียบหายสาบสูญก็ได้ เมื่อประชาชนกลับไปแล้ว ท้าวสัญชัยก็ดำรัสสั่งให้ไปบอกเจ้าเวสสันดรว่า ประชาชนต้องการให้ขับไล่ออกไปเสียจากเมืองเพราะเหตุผลให้ช้างคู่เมืองไป เพราะฉะนั้นวันพรุ่งนี้ต้องออกจากเมืองไป นายนักการไปทูลให้ทราบแล้ว พระเวสสันดรมิได้ตกพระทัยเลย กลับตรัสว่า “อย่าว่าแต่ช้างซึ่งเป็นของนอกกายเลย แม้ชีวิตร่างกายของเราถ้าใครต้องการเราก็จะให้ แต่ก่อนเราจะไปจากเมืองนี้ขอให้ทานจนจุใจสักหน่อย สัก ๒ วันเท่านั้นแล้วเราก็จะไป” เมื่อความที่จะเนรเทศพระเวสสันดรเสียจากเมืองรู้ไปถึงข้างใน สาวสนมกรมในพากันร้องไห้เสียงอื้ออึง ส่วนพระมัทรีได้รับทราบข่าวภัดดาซึ่งมาบอกก็ขอตามเสด็จไปด้วย ถึงกับยื่นคำขาดว่า “จะบุกป่าฝ่าดงไปแห่งใด ข้าพระบาทจะตามเสด็จไปไม่ขออยู่ จะเอาขีวิตและกายนี้สู่สนองพระคุณจนกว่าจะสิ้นบุญข้ามัทรี แม้พระองค์มิพรงอนุญาตให้ตามไป ข้ามัทรีจะก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์โดดเข้า ตายดีกว่าจะอยู่เป็นม่ายให้อายคน” พระเวสสันดรก็เลยต้องยอมให้นางติดตามไปด้วย และพระนางมัทรีได้พรรนาวงกตคีรีประเทศ ป่าหิมมพานต์เหมือนหนึ่งพระนางได้เคยพานพบมาได้อย่างอัศจรรย์ ทั้งพฤกษชาติและสัตว์นานาชนิดอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ใครฟังแล้วแทบจะคิดว่าเป็นเมืองแดนมนุษย์ ถ้าจะเทียบก็คงจะสนุกสนานมโหฬารปานสวนสามพราน หรือทิมแลน ซึ่งเห็นสถานที่ให้ความสุขทั้งกายและใจ พระนางผุสดีเล่าได้ทราบข่าวก็รีบไปหาเจ้าเวสสันดรและมัทรีปลอบประโลมใจ แล้วเลยไปเฝ้าพระสญชัยขอให้ไม่ต้องเนรเทศ แต่ท้าวเธอก็ไม่ยินยอม แม้จะทูลวิงวอนสักเท่าไหร่ ท้าวเธอก็มิได้ทรงอำนวยตาม พระนางก็ต้องโศกากลับมาหาพระเวสันดรและพระนางมัทรี เล่าความที่ได้กราบทูลให้ฟังทุกประการ ซึ่งพระองค์ก็ได้แต่สลดใจ เมื่อพนักงานได้จัดสัตตสตกมหาทาน คือให้ทานสิ่งละ ๗๐๐ เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จออกเดินทางไปเขาวงกต ท้าวสญชัยตรัสขอให้พระโอรสและพระธิดา คือชาลีและกัณหาอยู่ในเมืองเพราะกลัวลำบาก แต่พระนางมัทรีกับทูลโต้ว่า “นับประสาแต่พระโอรสยังถูกชาวเมืองขับ หากเป็นพระเจ้าหลานก็น่ากลัวจะต้องถึงประหาร เพราะฉะนั้นเจ้าทั้งสองอย่าอยู่ในบ้านในเมืองเลย ถึงตกระกำลำบากด้วยประการใดหม่อมฉันก็จะทนทรมานไป ไม่ทิ้งสองพระหน่อเลย” เป็นทั้งคำพ้อและถามต่อว่า ทำเอาท้าวสญชัยพูดไม่ออกได้แต่กลอกหน้า ก็เลยเป็นอันว่า ต้องยอมให้พระนางมัทรีและชาลีกัณหาติดตามไปด้วย เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานสัตตสตกมหาทานเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เสด็จออกจากเมือง ทั้ง ๔ พระองค์ก็ทรงรถมีม้าเทียมออกเดินทางไปยังเขาวงกต มีพราหมณ์พวกหนึ่งติดตามไปขอม้าที่เทียมราชรถ ท้าวเธอก็พระราชทานให้ดังประสงค์ เมื่อรถไม่มีม้าก็ไม่สามารถจะเดินทางต่อไปได้ ต้องร้อนถึงเทพเจ้าแปลงกายเป็นละมั่งสีเหลืองทองมาเทียมราชรถออกเดินทางต่อไป ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น พราหณ์พวกหนึ่งได้ยินข่าวว่าพระเวสันดรให้ทานก็เดินทางมารับทาน แต่ไม่ทันเลยรีบเดินทางติดตามไป พอทันก็ทูลขอราชรถ ซึ่งท้าวเธอก็พระราชทานให้เทพเจ้าซึ่งแปรงกายเป็นละมั่งก็อันตรธานหายไปจากสถานที่แห่งนั้น ทีนี้หมดทั้งรถทั้งม้าแล้ว แต่ท้าวเธอก็มิได้วิตก เสด็จ ลงเดินไปบนแผ่นดิน ตามหนทางที่พลเมืองทั่งไปเดินพบใครสวนมาก็ถามถึงเขาวงกต ซึ่งเขาเหล่านั้นก็บอกว่ายังไกลและชี้ทางไปข้างหลัง ทั้ง ๔ พระองค์ก็เสด็จดำเนินไป จนกระทั่งพระโอรสพระธิดาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจะไปไม่ไหว ก็ช่วยกันอุ้มพระโอรสราชธิดาออกเดินทางต่อไป คือพระเวสสันดรอุ้มพระชาลี ซึ่งค่อนข้างจะโตและมีร่างกายหนักกว่า ส่วนพระนางมัทรีก็อุ้มเจ้ากัณหาซึ่งบอบบางและมีน้ำหนักเบากว่า การออกเดินทางของทั้ง ๔ องค์ ก็เป็นไปด้วยประการเช่นกล่าวนี้ จนกระทั่งถึงนครเจตราฐาจึงไปพักที่ศาลาแห่งหนึ่ง กษัตริย์ในเจตราฐาทราบความก็ออกมาต้อนรับสนทนาปาศรัย จึงได้ทราบว่าพระเวสสันดรถูกเนรเทศ เพราะช้างคู่บ้านคู่เมืองเป็นทานไป จึงได้ขอให้อยู่ครองราชสมบัติในเจตราฐานคร แต่ท้าวเธอกลับค้านว่า “เพราะว่าเราถูกชาวเมืองสีพีเขารังเกียจ ถึงกับให้ขับไล่ เมื่อพวกท่านมารับเราไว้ ชาวเมืองก็จะเดือดร้อน อาจเกิดเป็นสงครามขึ้นก็อาจเป็นได้ เหตุเพราะชาวชาวสีพีก็พลอยจะโกรธเคืองมายังพวกท่านทั้งหลายด้วย และอนึ่ง เราก็อยากจะบำเพ็ญเพียร สงบจิตใจสักพักหนึ่งก่อน” เมื่อตรัสเช่นนี้แล้ว กษัตริย์เจตราฐาก็ต้องยินยอมจึงบอกหนทาง และได้ตั้งเจตยุตรให้เป็นนายด่านคอยตรวจคนที่ผ่านเข้าไปยังวงกต เพื่อป้องกันมิให้คนเหล่าอื่นเข้าไปรบกวนท้าวเธอได้ รุ่งขึ้นทั้ง 4 องค์ ก็ได้เสด็จด้วยพระบาทต่อไปตามที่เขาชี้บอก ก็บรรลุถึงเขาวงกต เเละได้บวชเป็นฤาษี อยู่ที่นั้นหมดด้วยกันในเวลานั้นในแคว้นกาลิงคราช มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อชูชกประกอบด้วยโทษของบุรุษ ๑๘ ประการ ดำเนินชีวิตในทางขอทานอยู่เป็นประจำ แกขอทานมาก็รวบรวมไว้ได้ถึง ๑๐๐ กสาปณ์ ถ้าจะคิดเป็นตัวเงินก็ ๔๐๐ บาทนั้นเอง “เอ๊ะ นี้เราก็มีเงินเยอะแยะ จะเอาไว้กับตัวน่ากลัวจะถูกโปล้นบีบคอเราตายเข้าสักวันเป็นแน่แท้ สมัยนี้การฉกชิงวิ่งราวและจี้โปล้นก็มีกันออกดาดดื่นเกลื่อนเมืองไปหมด เมื่อคิดได้เช่นนั้น ตาชูชกก็ออกเดินทางไปยังบ้านของสหายผู้หนึ่ง ครั้นถึงแล้วก็อวดมั่งอวดมี พร้อมกับหยิบเงินร้อยกสาปณ์ออกมา “นี่เป็นเงินของเราจริง ๆ นะ ไม่ใช่เงินของใครอื่น ตั้งร้อยแน่ะเกลอ ครั้นจะเก็บไว้กับตัวหรือก็กลัวไอ้คนที่รู้เค้าเข้ามันจะมาดักจี้ตีชิงวิ่งราวเอาเราแย่แน่ไปด้วย เพราะเราไม่มีใช่หนุ่มเหมือนแต่ก่อนถ้าเหมือนเมื่อก่อนล่ะก็สหายเอ๋ย นี้ไม่ใช่คุยนะ เราก็หนึ่งในกลิงค์เหมือนกัน เรื่องตีฟันแทงแล้วต้องยกให้เรา พอเอ่ยชื่อชูชกใคร ๆ ก็สั่นหน้าเพราะเขาไม่รู้จัก จริง ๆ นะ” พูดไปก็หัวเราะไป สหายทั้งผัวเมียก็พลอยไปด้วย ผู้ผัวจึงถามว่า “แล้วเกลอเอาเงินออกมาน่ะ จะทำอย่างไร?” “อ้าว แล้วกัน ก็ฉันบอกแล้วว่าเงินมันเป็นจำนวนมากมายก่ายกองอย่างนี้ จะเอาไว้กับตัวก็กลัวจะเกิดภัย จึงคิดจะเอามาฝากสหายไว้” “ได้ จะเป็นไรมี ว่าแต่สหายจะมาเอากลับคืนเมื่อไหร่ล่ะ” “ยังก่อน เราต้องเดินทางไปอีกร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครรวบรวมเงินได้พอเมื่อไหร่ ก็จะกลับมาขอคืน ว่าแต่สหายอย่าแล่นสกปรก ยักย้ายถ่ายเทเอาเอาเงินของเราไปใช้เสียหมดล่ะ คงได้เล่นงานกันทีเดียว” "เออน่ะ ไม่เชื่อกันหรือไง จะมาเมื่อไหร่ก็มาเอาเถอะ เราน่ะอยู่เสมอ การยักย้ายถ่ายเทของสหาย ก็รู้อยู่แล้วว่าเราเป็นคนอย่างไร ขอบใจนะที่ยังเชื่อเราอยู่” ตาชูชกเมื่อตะแกฝากเงินเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทางขอทานมันเรื่อยไป ไปจนไกลเกิดคิดถึงบ้าน “กลับเสียทีเห็นจะดีเป็นแน่” เมื่อตาแกคิดเช่นนั้นแล้วก็เดินทางกลับ ในขณะที่ชูชกกำลังเดินทางขอทานอยู่นั้น ครอบครัวที่รับฝากเงินของตาชูชกไว้ก็เกิดหยิบเงินไปใช้ทีละเล็กละน้อยจนในที่สุดเงิน ๑๐๐ กสาปณ์ก็หมด โดยที่เห็นว่าตาเฒ่าชูชกแกไปนาน คงจะไปล้มหายตายจากไปเป็นแน่ แต่ความคิดเหล่านี้ใช้ไม่ได้ เพราะชูชกแกกลับมา ไม่กลับเปล่าเสียด้วย แถมไปทวงเงินที่ฝากไว้เสียด้วย พอเดินทางมาถึงเมือง ตาชูชกใจจดจ่ออยู่กับเงินที่ฝากไว้จึงรีบเร่งรีบไปยังบ้านที่รับฝากไว้เพื่อจะขอเงินคืน เห็นบ้านปิดสนิท จึงตะโกนเรียก พอสองผัวเมียรู้ว่าชูชกมาทวงเงินของมันแล้ว “ตายละหว่า ไอ้ชูชกมันมาเอาเงินคืนแล้ว” ยายเมียก็เสริมขึ้นมาว่า “แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะตา จะเอาที่ไหนให้ล่ะก็เราได้ใช้ไปกันหมดแล้ว” “ทำใจดี ๆ ไว้ก็แล้วกัน พี่จะจัดการเอง” ผู้ผัวว่า “ถ้ายังงั้นตาก็รับหน้าไปก็แล้วกัน” ยายเมียว่าแล้วก็หลบหน้าไปเสีย เมื่อรู้ว่าเป็นชูชกแน่แล้ว จึงออกมาเปิดประตูแล้วเชื้อเชิญให้ขึ้นไปบนเรือน แล้วชูชกก็พูดว่า “เงินของตูรีบเอามาไว ๆ “ ตาแก่พูดว่า “อย่าเพิ่งยุ่งอะไรเลยน่ะ กำลังเหนื่อย นั่งพักผ่อนเสียก่อนเถิด” ชูชกก็พูดว่า ยังนั่งไม่ลงหรอกเพื่อน เงิน ของเรารีบเอามาเสียก่อนแล้วค่อยนั่ง” ตาแก่พูดว่า “มาถึงบ้านแล้วกลัวอะไรนะ เงินทองมันก็อยู่ แต่ดูเพื่อนออกจะรีบร้อนเกินไปสักหน่อยนะ” ชูชกพูดว่า “ไม่รีบร้อนได้ยังไงล่ะ เรื่องเงินเรื่องทองเป็นของสำคัญ ใครทำมือห่างเท้าห่างเป็นได้ลำบากกันน่ะสิ” ตาแก่พูดว่า “แต่ว่าเพื่อนจะไม่นั่งลงก่อนรึ ชูชกพูดว่า “ถ้าไม่มีเงินยังนั่งไม่ได้” ตาแก่พูดว่า “เงิน อ้า..อ้า..” ชูชกพูดว่า “ทำไม เงินอ้า..ทำไม?” ตาแก่พูดว่า “ไม่ทำไมหรอก แต่มันหมดแล้วน่ะสิ” “หมด ?" ตาชูชกร้องออกมาอย่างหมดหวัง “ตายแล้ว ตายจริง ๆ” ตาแก่พูดว่า “ไม่ตายน่ะ ยังพอพูดกันได้” ชูชกพูดว่า “พูดอะไร เงิน ๆ ของตูรีบเอามาเสียเถอะ อย่าให้ต้องผิดใจกันเลยนะ” ตาแก่พูดว่า “ค่อยพูด ๆ พูดค่อย ๆ จากันก็ได้นี่นะ เราเป็นคนอื่นที่ไหนคนรักชอบพอกันทั้งนั้น เรื่องเงินของท่านไม่สูญแน่ เรามีหนทางที่จะใช้ให้ได้” ชูชกค่อยหย่อนกายลงนั่งพลางกล่าวว่า “ว่ากันให้ดีหน่อยนะเกลอ ม่ายงั้นเป็นเรื่องใหญ่ไปถึงเจ้าหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องนะเกลอ เสียหายกันไปหมดเลย” ตาแก่พูดว่า “ใจเย็น หน่อย เอาล่ะ เราเองก็รับว่าได้เอาเงินของท่านไปใช้จ่ายคิดว่าจะหามาใช้ให้ทัน แต่มันผิดคาดหมายไปเสีย เงินก็เลยขัดข้องไปหน่อย” ตาแก่ “ไม่เพียงแต่พูดเท่านั้น เขาหันไปเรียกลูกสาว “อมิตดาเอ๊ย เอาน้ำท่าออกมาให้ อาหน่อยซิ” เสียงขาน จ๋า ดัง เล่นเอาชูชกสะดุ้ง แล้วเจ้าของ เสียงก็โผล่ออกมา ในมือมีภาชนะใส่น้ำมาด้วย “อุแม่เอ๋ย” ชูชกคิด “ลูกสาวเกลอเราคนนี้มันสวยจริง ๆ” ตาแก่พูดว่า เออ เกลอกินน้ำกินท่าเสียก่อนสิแล้วค่อย ๆ มาพูดมาจากัน” พอถึงตอนนี้ ชูชกชักเสียงไม่ค่อยแข็งนัก และเมื่อได้ยินเพื่อนเกลอปรับทุกข์ปรับร้อน และแถมท้ายว่า “หากไม่รังเกียจแล้ว เราอยากจะยกลูกสาวคนนี้ให้ท่านไปใช้สอยเป็นการขัดดอกไปก่อน เกลอจะว่าอย่างไร” “หาเกลอว่าไงนะ ? ชูชกรีบถามช้ำ” ตาแก่พูดว่า “หาก เกลอไม่ว่ากระไร ถ้าไม่รังเกียจแล้ว เราจะยกแม่อมิตดาให้แก่ท่านเป็นการขัดดอกไปก่อน” ชูชกก็หัวเราะ “เฮอะ ?เฮอะ? |